วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช


พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช




ครม.คณะ



ครม.คณะที่ 36 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 14 มีนาคม 2518 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจตำแหน่งวันที่ 20 เมษายน 2519 โดยรัฐบาลยุบสภา 12 ม.ค.2519 เลือกตั้งทั่วไป วันแถลงนโยบาย 19 มีนาคม 2518
ประวัติวันเกิด 20 เมษายน 2454
ที่ จังหวัดสิงห์บุรี
สัญชาติ ไทย
ศาสนา พุทธ
การศึกษา- โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย(วังหลัง)
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- โรงเรียน Trent College
- ศึกษาวิชาปรัชญาเศรษฐศาสตร์และการเมืองที่ The Queen's College มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด
ประเทศอังกฤษ สำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยม
- ปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด
- ปริญญาวารสารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ระยะเวลาดำรงตำแหน่งรัฐบาลที่ 37 : 17 มีนาคม 2518 - 12 มกราคม 2519
ประวัติการทำงาน- รับราชการที่กรมสรรพากร
- เลขานุการที่ปรึกษากระทรวงการคลัง
- ผู้จัดการธนาคารพาณิชย์ สาขาลำปาง
- รับราชการทหาร[ เมื่อเกิดสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา]
- หัวหน้าฝ่ายสำนักผู้ว่าการและหัวหน้าฝ่ายออกบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
- ประธานกรรมการ ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การจำกัด
- เขียนบทความลงในคอลัมน์ "ซอยสวนพลู"
- พ.ศ. 2531 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศเป็นพลตรี (ทหารราชองครักษ์พิเศษ)
บทบาททางการเมือง- พ.ศ. 2488-2489 เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งพรรคการเมืองพรรคแรกในเมืองไทย ชื่อ "พรรคก้าวหน้า"
- ได้ร่วมในคณะผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์
- ได้ริเริ่มจัดตั้งพรรคกิจสังคม
- พ.ศ. 2518 ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น และได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
- พ.ศ. 2519 ได้ตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎร บริหารประเทศประมาณ 9 เดือนเศษ

ผลงานที่สำคัญ
- ได้ดำเนินการเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเดินทางไปเยือนกรุงปักกิ่ง ตามนโยบายการอยู่ร่วมกันอย่างปกติ และเป็นมิตรกับทุกประเทศที่มีเจตนาดีต่อประเทศไทยโดยไม่คำนึงถึง ความแตกต่างทางอุดมการณ์ทางการเมืองในด้านการพัฒนาประเทศ
- เริ่มโครงการผันเงินชนบท เพื่อปรับปรุง และสร้างสิ่งสาธารณูปโภค ที่จำเป็นในชนบทเพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ และสร้างงานชนบท โดยการสร้างในงบประมาณรายจ่ายเพื่อปรับปรุงและสร้างสิ่งสาธารณูปโภคที่จำเป็นต่อชนบท มีผลให้ประชาชนในชนบทมีงานทำ และมีรายได้ เป็นการยกฐานเศรษฐกิจของชาวชนบทให้ดีขึ้น
- ส่งเสริมการพัฒนาสภาตำบลอย่างจริงจัง รวมทั้งจัดให้มีโครงการช่วยเหลือ ผู้มีรายได้น้อย
- ดำเนินการซื้อสัมปทานเดินรถของเอกชนรวมเป็นของรัฐบาล ภายใต้การดำเนินงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

นายสัญญา ธรรมศักดิ์



นายสัญญา ธรรมศักดิ์


ครม.คณะที่
ครม.คณะที่  33 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 14 ตุลาคม 2516  โดยพระบรมราชโองการ นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 22 พฤษภาคม 2517  โดยลาออกอ้างเหตุร่าง รธน.ไม่เสร็จ วันแถลงนโยบาย 25 ตุลาคม 2516
ครม.คณะที่ 34 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 27 พฤษภาคม 2517 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2518 โดยมีการเลือกตั้งทั่วไปตาม รธน. 2517 วันแถลงนโยบาย 7 มิถุนายน 2517
ประวัติ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2450
ที่บ้านข้างวัดอรุณราชวราราม บางกอกใหญ่ ธนบุรี
เป็นบุตรของมหาอำมาตย์พระยาธรรมสารเวทย์วิเศษภักดี
(ทองดี ธรรมศักดิ์) กับคุณหญิงชื้น ธรรมศักดิ์
สมรสกับท่านผู้หญิงพงา ธรรมศักดิ์
ถึงแก่อสัญกรรม วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2545
การศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก
โรงเรียนปทุมคงคา
พ.ศ. 2471 โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม จนสำเร็จเนติบัญฑิตไทย
พ.ศ. 2475 ศึกษาวิชากฎหมายต่อที่สำนัก Middle Temple ประเทศอังกฤษ จนสำเร็จเนติบัณฑิตอังกฤษ
พ.ศ. 2498 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง รัฐบาลที่ 34 15 ตุลาคม 2516 - 22 พฤษภาคม 2517
รัฐบาลที่ 35 27 พฤษภาคม 2517- 26 มกราคม 2518
ประวัติการทำงาน พ.ศ. 2478 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดอยุธยา
พ.ศ. 2478 ผู้พิพากษาผู้ช่วยศาลฎีกา
พ.ศ. 2491 ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
พ.ศ. 2494 ข้าหลวงยุติธรรมภาค 4 (จังหวัดเชียงใหม่)
พ.ศ. 2496 ปลัดกระทรวงยุติธรรม
พ.ศ. 2501 ผู้พิพากษาศาลฎีกา
พ.ศ. 2505 อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
พ.ศ. 2506 ประธานศาลฎีกา
พ.ศ. 2511 - 2516 และ 26 มีนาคม 2518 - 4 ธันวาคม 2518 องคมนตรี
พ.ศ. 2511 คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2514 อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5 ธันวาคม 2518 - 3 กันยายน 2541 ประธานองคมนตรี
บทบาททางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
22 พฤษภาคม 2517 ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
26 มกราคม 2518 คณะรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้สิ้นสุดลง
ผลงานที่สำคัญ - จัดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่างรัฐธรรมนูญจนเสร็จสิ้น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. 2489 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
พ.ศ. 2484 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
พ.ศ. 2491 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
พ.ศ. 2497 เหรียญรัตนาภรณ์ (ภ.ป.ร. 3)
พ.ศ. 2497 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
พ.ศ. 2499 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พ.ศ. 2500 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
พ.ศ. 2502 มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2504 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
พ.ศ. 2505 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)
พ.ศ. 2511 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)
พ.ศ. 2512 เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ).)
พ.ศ. 2514 เหรียญรัตนาภรณ์ (ภ.ป.ร. 1)
พ.ศ. 2539 นพรัตน์ราชวราภรณ์

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์


ครม.คณะที่ครม.คณะที่ 29 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2502 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 8 ธันวาคม 2506 โดยอสัญกรรม วันแถลงนโยบาย 12 กุมภาพันธ์ 2502
ประวัติเกิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2451
บ้านปากคลองตลาด ต.พาหุรัด กรุงเทพฯ
เป็นบุตรของ พันตรี หลวงเรืองเดชอนันต์ - นางจันทิพย์ ธนะรัชต์
สมรสกับท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์
ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2506 ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า รวมอายุได้ 55 ปี
การศึกษาโรงเรียนประจำจังหวัดมุกดาหาร
โรงเรียนวัดมหรรณพาราม
โรงเรียนทหารราบพระนคร
โรงเรียนนายร้อยทหารบก
ระยะเวลาดำรงตำแหน่งรัฐบาลที่ 29  9 กุมภาพันธ์ 2502 - 8 ธันวาคม 2506
ประวัติการทำงานพ.ศ. 2475 ประจำกองทัพทหารราบที่ 4
พ.ศ. 2481 ผู้บังคับกองร้อยปืนใหญ่ทหารราบ ลพบุรี
พ.ศ. 2484 ผู้บังคับกองโรงเรียนนายสิบ ทหารราบ ลพบุรี
พ.ศ. 2487 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 13 และผู้บังคับการจังหวัดทหารราบลำปาง
พ.ศ. 2489 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
พ.ศ. 2491 ผู้บัญชาการกองพลที่ 1
พ.ศ. 2493 แม่ทัพกองทัพที่ 1 และผู้บัญชาการภาคทหารบกที่ 1
พ.ศ. 2497 ผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2500 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พ.ศ. 2502 ผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ
บทบาททางการเมืองพ.ศ. 2494 - 2495 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2500 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2502 เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจาก การทำรัฐประหารรัฐบาลของ จอมพล ถนอม กิตติขจร
พ.ศ. 2506 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนถึงแก่อสัญกรรม
ผลงานที่สำคัญ- การปรับปรุงการบริหารและการพัฒนาประเทศไว้มากมาย
- การออกกฏหมายเลิกการเสพและจำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาด
- กฏหมายปราบปรามพวกนักเลง อันธพาล
- กฏหมายปรามการค้าประเวณี
- การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ 

จอมพล ถนอม กิตติขจร


จอมพล ถนอม กิตติขจร









ครม.คณะที่
ครม.คณะที่ 28 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 1 มกราคม 2501 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 20 ตุลาคม 2501 โดยรัฐประหารนำโดย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ วันแถลงนโยบาย 9 มกราคม 2501
ครม.คณะที่ 30 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 9 ธันวาคม 2506 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร รม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 7 มีนาคม 2512 โดยมีการเลือกตั้งทั่วไปตาม รธน.2511 วันแถลงนโยบาย 19 ธันวาคม 2506
ครม.คณะที่ 31 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 7 มีนาคม 2512 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 โดยรัฐประหารนำโดย จอมพล ถนอม กิตติขจร วันแถลงนโยบาย 25 มีนาคม 2512
คณะปฏิวัติ นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 18 พฤศจิกายน 2514 นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 17 ธันวาคม 2515 
ครม.คณะที่ 32 นรม.ดำรงตำแหน่งวันที่ 18 ธันวาคม 2515 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร นรม.พ้นจากตำแหน่งวันที่ 14 ตุลาคม 2516 โดยลาออก เพราะเกิดจลาจลวันมหาวิปโยค วันแถลงนโยบาย 22 ธันวาคม 2515
ประวัติเกิดวันที่ 11 สิงหาคม 2454
ที่บ้านหนองหลวง อ.เมือง จ.ตาก
เป็นบุตร ขุนโสภิตบรรณลักษณ์(อำพัน กิตติขจร)
กับนางลิ้นจี่ กิตติขจร
สมรสกับท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร
ปัจจุบันท่านพำนักอยู่ที่บ้านพักในกรุงเทพมหานคร และได้ยุติบทบาททางการเมือง
ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2547 ที่ โรงพยาบาลกรุงเทพ รวมอายุได้ 93 ปี
การศึกษาโรงเรียนประชาบาลวัดโคกพลู จังหวัดตาก
โรงเรียนนายร้อยทหารบก
โรงเรียนแผนที่ทหาร กองทัพบก
โรงเรียนทหารราบ กองทัพบก
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 1)
ระยะเวลาดำรงตำแหน่งสมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 28 : 1 มกราคม 2501 - 20 ตุลาคม 2501
สมัยที่ 2 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 30 : 9 ธันวาคม 2506 - 7 มีนาคม 2512
สมัยที่ 3 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 31 : 7 มีนาคม 2512 - 17 พฤศจิกายน 2514
สมัยที่ 4 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 32 : 18 พฤศจิกายน 2514 -17 ธันวาคม 2515
สมัยที่ 5 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 33 : 18 ธันวาคม 2515 - 14 ตุลาคม 2516
ประวัติการทำงานพ.ศ 2477 ประจำแผนกโครงหลักฐาน กรมแผนที่ทหาร
พ.ศ. 2490 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21
พ.ศ. 2491 ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11
พ.ศ. 2492 ตำแหน่งรองผู้บัญชาการกองพลที่ 1
พ.ศ. 2493 ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 1 และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกกรุงเทพฯ
พ.ศ. 2494 รองแม่ทัพ กองทัพที่ 1
พ.ศ. 2497 แม่ทัพกองทัพที่ 1 และผู้บัญชาการภาคทหารบกที่ 1
พ.ศ. 2500 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2502 รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
พ.ศ. 2506 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก
บทบาททางการเมืองพ.ศ.2494 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2
พ.ศ. 2498 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์
พ.ศ. 2500 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[รัฐบาลของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม]
พ.ศ.2500 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[รัฐบาลของนายพจน์ สารสิน]
พ.ศ. 2501 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
20 ตุลาคม 2501 ลาออกจากตำแหน่ง
พ.ศ 2506 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
พ.ศ. 2514 ได้ทำรัฐประหารรัฐบาลของตนเอง และได้จัดตั้งสภาบริหารคณะปฏิวัติ
พ.ศ. 2515 สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรมนูญการปกครอง ได้มีมติให้จอมพล ถนอม กิตติขจร เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป
14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อันเนื่องมาจากเหตุการณ์เรียกร้องรัฐธรรมนูญของกลุ่มนิสิตนักศึกษา
ผลงานที่สำคัญ- บริหารประเทศได้สร้างทางหลวงสายต่าง ๆ ทั่วประเทศหลายสาย
- สร้างเขื่อน อาทิ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนอุบลรัตน์
- ได้ทำการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยทัดเทียมกับนานาประเทศ
- ได้ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนามด้วย
- ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

นายกรัฐมนตรี คนที่ 9






 นายพจน์ สารสิน

ดำรงตำแหน่งวันที่ 21 กันยายน 2500
 ตามมติสภาผู้แทนราษฎร
 และพ้นตำแหน่งวันที่ 1 มกราคม 2501
 เพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไป
 เป็น ครม.ชุดที่ 27
ดำรงตำแหน่ง
21 กันยายน พ.ศ. 2500 – 1 มกราคม พ.ศ. 2501 (ลาออก) 
สมัยก่อนหน้า จอมพล ป. พิบูลสงคราม 
สมัยถัดไป จอมพล ถนอม กิตติขจร

เกิด 25 มีนาคม พ.ศ. 2448 ที่บ้านพักถนนสุรศักดิ์ กรุงเทพฯ ประเทศไทย 
ถึงแก่อสัญกรรม 28 กันยายน พ.ศ. 2543 (95 ปี)
สมรสกับ ท่านผู้หญิงศิริ สารสิน 
นายกรัฐมนตรี คนที่ 8









พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

 (หลวง ธำรงนาวาสวัสดิ์) 
ดำรงตำแหน่ง
สมัยที่ 1: 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 (ลาออก)
สมัยที่ 2: 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 (รัฐประหารนำโดยพล.ท.ผิน ชุณหะวัณ)
สมัยก่อนหน้า ปรีดี พนมยงค์ 
สมัยถัดไป พันตรี ควง อภัยวงศ์

เกิด 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 ที่ ตำบลหัวรอ อำเภอรอบกรุง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ถึงแก่อสัญกรรม 3 ธันวาคม พ.ศ. 2531 (87 ปี) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพฯ ประเทศไทย 
สังกัดพรรค พรรคแนวรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2489)  
สมรสกับ นางแฉล้ม สุมาวงศ์
นางระเบียบ สุมาวงศ์
นางบรรจง สุมาวงศ์  
นายกรัฐมนตรี คนที่ 7 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) 










ดำรงตำแหน่ง
สมัยที่ 1: 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 (ลาออก)
สมัยที่ 2: 7 มิถุนายน พ.ศ. 2489 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 (ลาออก)
สมัยที่ 3: 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 - 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 (ลาออกจากกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8)

สมัยก่อนหน้า พันตรี ควง อภัยวงศ์ 
สมัยถัดไป พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

เกิด 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443ที่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ถึงแก่อสัญกรรม 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 (82 ปี)ณ ชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

สังกัดพรรค พรรคสหชีพ   สมรสกับ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์